Welcome To My Bloger ยินดีต้อนรับครับ

วันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (application software)

หมายถึง โปรแกรมที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานเฉพาะอย่างตามต้องการของผู้ใช้ ซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่ได้รับความนิยม เช่น โปรแกรมประมวลผลคำ โปรแกรมกาคำนวณ โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล โปรแกรมค้นหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต เป็นต้น ซึ่งซอฟต์แวร์ประยุกต์สามารถแบ่งเป็น ๒ ประเภท ได้แก่ ซอตฟ์แวร์ประยุตก์เฉพาะงาน และซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไป
๑ ซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะงาน (application software for specific purpose) เป็นซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับงานขององค์กรใดองค์กรหนึ่งโดยเฉพาะ ออกแบบและสร้างขึ้นโดยผู้ผลิตซอฟต์แวร์ที่มีความชำนาญในด้านนั้น ๆ หรือพัฒนาโดยบุคลากรฝ่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กร โดยผ่านการวิเคราะห์ ออกแบบ ลงมือสร้าง และทดสอบโปรแกรมให้สามารถทำงานได้ถูกต้องก่อน จึงจะสามารถนำมาใช้งานได้ เช่น โปรแกรมคำนวณภาษีของกรมศุลกากร โปรแกรมฝากถอนเงินของธนาคาร โปรแกรมระบบสินค้าของห้างสรรพสินค้า เป็นต้น
๒ ซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไป (general purpose software) เป็นซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับงานให้เหมาะสมกับลักษณะงานของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ เช่น การจัดพิมพ์รายงาน การนำเสนองาน การจัดทำบัญชี การตกแต่งภาพ การออกแบบเว็บไซต์ เป็นต้น ซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไปสามารถแบ่งออกได้เป็น ๖ ประเภท ดังต่อไปนี้
๑) ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล (database management software) เป็นโปรแกรมจัดการกับข้อมูลให้เป็นระบบ ง่ายต่อการจัดการข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการค้นข้อมูล ปรับปรุงข้อมูล การเพิ่มข้อมูล และการลบข้อมูล เช่น Dbase, Paradox, Foxbase, Microsoft Access เป็นต้น


หน้าต่างการใช้ซอฟต์แวร์ฐานข้อมูลของไมโครซอฟต์แอกเซส
โปรแกรมจัดการฐานข้อมูลจะเก็บข้อมูลในรูปแบบของตารางที่มีความสัมพันธ์กัน แต่ละตารางจะประกอบด้วยแถวที่เรียกว่า ระเบียน หรือเรคคอร์ด (recode) และคอลัมน์ที่เรียกว่า ฟิลด์ (field) แต่ละเรคคอร์ดประกอบด้วยฟิลด์ของข้อมูลที่ต้องการเก็บ เช่น ฐานข้อมูลโรงเรียน จะมีการจัดเก็บประวัตินักเรียน ซึ่งประกอบด้วยรายละเอียดของข้อมูล ได้แก่ เลขประจำตัว ชื่อ นามสกุล วันเกิด เพศ ที่อยู่ และเบอร์โทรศัพท์
) ซอฟต์แวร์ประมวลคำ (word processing software) เป็นซอฟต์แวร์ประยุกต์ใช้สำหรับการพิมพ์เอกสาร สามารถแก้ไข เพิ่ม แทรก ลบ และจัดรูปแบบเอกสารได้อย่างดี เอกสารที่พิมพ์ไว้จัดเป็นแฟ้มข้อมูล เรียกมาพิมพ์หรือแก้ไขใหม่ได้ และสามารถพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์รูปแบบตัวอักษรมีให้เลือกหลายรูปแบบ เอกสารจึงดูเรียบร้อยสวยงาม ช่วยสร้างเอกสารในรูปแบบที่ต้องการได้ง่าย เช่น สามารถแบ่งเป็นสดมภ์ได้หลายแบบในเอกสารชุดเดียวกัน สามารถนำรูปภาพ หรือกราฟมาเป็นส่วนประกอบของเอกสารได้ สามารถสร้างตาราง จัดเรียงตัวอักษร สามารถใช้งานร่วมกับฐานข้อมูลในการแสดงหรือการพิมพ์งาน เช่น นำฐานข้อมูลรายชื่อผู้ที่ได้รับวุฒิบัตรที่สร้างจากซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลมาพิมพ์ร่วมกับแบบฟอร์มที่พิมพ์และจัดเตรียมไว้ในซอฟต์แวร์ประมวลคำ นอกจากนี้ซอฟต์แวร์ประมวลคำในปัจจุบันสามารถช่วยสร้างดัชนี และสารบัญได้โดยอัตโนมัติ ตัวอย่างซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์ประมวลคำทำให้ความสำคัญของการใช้งานเครื่องพิมพ์ดีดลดน้อยลง เช่น ไมโครซอฟต์เวิร์ด ซียูไรด์เตอร์ โลตัสเวิร์ดโปร และซอฟต์แวร์ประมวลคำของชุดซอฟต์แวร์ปลาดาว เป็นต้น
          คุณสมบัติเด่นอีกประการหนึ่งของซอฟต์แวร์ประมวลคำในปัจจุบันคือสามารถช่วยตรวจสอบตัวสะกดในเอกสารที่พิมพ์ว่าถูกต้องหรือไม่ ทั้งในรูปแบบของคำหรือไวยากรณ์ หากพิมพ์ผิดโปรแกรมจะแสดงสัญลักษณ์ให้ผู้ใช้สังเกตได้ง่าย เช่น มีการขีดเส้นใต้สีแดงใต้คำที่พิมพ์ผิด และจะมีคำที่ถูกต้องให้เลือกว่าต้องการคำไหน ความสามารถนี้สืบเนื่องมาจากมีการผนวกซอฟต์แวร์ทางด้านภาษาเช่น พจนานุกรม เข้ากับซอฟต์แวร์ด้วย แต่หากเป็นชื่อเฉพาะผู้ใช้ก็สามารถเพิ่มชื่อเฉพาะเข้าไปได้เพื่อป้องกันไม่ให้ซอฟต์แวร์รายงานความผิดพลาด ซอฟต์แวร์ประมวลคำในปัจจุบันสามารถสรุปหรือย่อเนื้อหาในสัดส่วนที่ต้องการได้ เช่นสรุปเนื้อหาจากเอกสาร 10 หน้าให้เหลือ 2 หน้า และปัจจุบันมีการเพิ่มขีดความสามารถของซอฟต์แวร์ประมวลคำอีกมากมาย
หน้าต่างการใช้งานซอฟต์แวร์ประมวลคำของซอฟต์แวร์ชุดปลาดาว
หน้าต่างการใช้งานของซอฟต์แวร์ประมวลคำไมโครซอฟต์เวิร์ด

๓) ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน (spreadsheet software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการคิดคำนวณ การทำงานของซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ใช้หลักการเสมือนมีโต๊ะทำงานที่มีกระดาษขนาดใหญ่วางไว้ มีเครื่องมือคล้ายปากกา ยางลบ และเครื่องคำนวณเตรียมไว้ให้เสร็จ บนกระดาษมีช่องให้ใส่ตัวเลข ข้อความหรือสูตร สามารถสั่งให้คำนวณตามสูตรหรือเงื่อนไขที่กำหนด หากผู้ใช้ต้องการสร้างคำสั่งหรือสูตรเองก็สามารถดำเนินการได้ และสามารถสร้างคำสั่งพิเศษที่เรียกว่า มาโคร ในการใช้งานเฉพาะได้ นอกจากนี้โปรแกรมตารางทำงานยังสามารถสร้างกราฟ แผนภูมิสำหรับนำเสนอในรูปแบบต่างๆ เช่น แผนภูมิแท่ง แผนภูมิวงกลม กราฟเส้น และอื่นๆ ผู้ใช้สามารถใช้ซอฟต์แวร์ตารางทำงานประยุกต์ใช้งานประมวลผลตัวเลขอื่นๆ ได้อย่างกว้างขวาง ตัวอย่างซอฟต์แวร์ตารางทำงาน เช่น ไมโครซอฟต์เอกเซล โลตัส123 และซอฟต์แวร์ตารางทำงานของชุดซอฟต์แวร์ปลาดาว เป็นต้น การใช้งานโปรแกรมตารางทำงานจะอ้างถึงสดมภ์และแถว กล่าวคือข้อมูลหรือการคำนวณต่างๆ จะใส่ไว้ในเซลซึ่งเกิดจากสดมภ์และแถว โดยตำแหน่งของแต่ละเซลจะถูกกำหนดด้วย หมายเลขของสดมภ์และแถว เช่น จากรูปด้านล่าง ข้อความ สสวท อยู่ในเซล แสดงว่า ตำแหน่งเซลนี้อยู่สดมภ์ที่ B และแถวที่ 5 
ตัวอย่างของการอ้างตำแหน่งจากเซลสดมภ์และแถว 


หน้าต่างใช้งานของซอฟต์แวร์ตารางทำงานของซอฟต์แวร์ชุดปลาดาว


หน้าต่างซอฟต์แวร์ตารางทำงานของไมโครซอฟต์เอกเซล 
          การคำนวณของซอฟต์แวร์ตารางทำงานนั้นสามารถคำนวณได้ทั้งในแนวของแถว สดมภ์ หรือแบบเฉพาะเจาะจงก็ได้ จากตารางข้างล่าง แสดงตัวอย่างฟังก์ชันการคำนวณที่ซอฟต์แวร์สนับสนุน ซึ่งมีเป็นจำนวนมาก ดังนั้นการใช้งานโดยทั่วไปสามารถเรียกใช้ฟังก์ชันที่มีอยู่หลายหมวดหมู่ เช่น ฟังก์ชันทางสถิติ ฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ ตรรกศาสตร์ ฐานข้อมูล และอื่นๆ โดยไม่จำเป็นต้องเขียนมาโครเพิ่มเติม ตัวอย่างของฟังก์ชันที่มีการใช้เป็นจำนวนมาก เช่น ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และผลรวม
ตาราง ตัวอย่างสูตรและฟังก์ชันการคำนวณในซอฟต์แวร์ตารางทำงาน
ตัวอย่างที่
ข้อมูลในเซล
ความหมาย
1
=B2+B3+B4+B5หาผลรวมที่เรียงกันในแนวสดมภ์
2
=A2+B2+C2+D2หาผลรวมที่เรียงกันในแนวแถว
3
=Sum(B2,B5)หาผลรวมที่เรียงกันในแนวสดมภ์โดยใช้สูตร
4
=Sum(A2,D2)หาผลรวมที่เรียงกันในแนวแถวโดยใช้สูตร
5
=A2+B3*C4-D5หาค่าจากสูตรที่คำนวณจากค่าในเซลต่างๆ แบบเจาะจง
          
          การคำนวณของซอฟต์แวร์ตารางทำงานนั้นสามารถคำนวณได้ทั้งในแนวของแถว สดมภ์ หรือแบบเฉพาะเจาะจงก็ได้ จากตารางข้างล่าง แสดงตัวอย่างฟังก์ชันการคำนวณที่ซอฟต์แวร์สนับสนุน ซึ่งมีเป็นจำนวนมาก ดังนั้นการใช้งานโดยทั่วไปสามารถเรียกใช้ฟังก์ชันที่มีอยู่หลายหมวดหมู่ เช่น ฟังก์ชันทางสถิติ ฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ ตรรกศาสตร์ ฐานข้อมูล และอื่นๆ โดยไม่จำเป็นต้องเขียนมาโครเพิ่มเติม ตัวอย่างของฟังก์ชันที่มีการใช้เป็นจำนวนมาก เช่น ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และผลรวม
          การทำงานของซอฟต์แวร์ตารางทำงาน จากตัวอย่างที่ 5 ในตารางที่ 5.1 จะทำการนำค่า B3 มาคูณกับ C4 แล้วบวกกับ A2 ต่อจากนั้นนำผลลัพธ์ที่ได้ลบออกด้วยค่า D5 การเป็นเช่นนี้ เป็นหลักการทางคณิตศาสตร์ที่ให้ตัวดำเนินการคูณและหารดำเนินการก่อนตัวดำเนินการบวกและลบ ดังนั้นการกำหนดสูตรจึงต้องมีความชัดเจน การใส่เครื่องหมายวงเล็บจะป้องกันความสับสน ดังนั้น =A2+B3*C4-D5 สามารถเขียนใหม่ได้เป็น =A2+(B3*C4)-D5 ซึ่งจะทำให้ชัดเจนมากขึ้น
          ค่าต่างๆ ที่อยู่ในเซลของตารางทำงานนั้นสามารถกำหนดชนิดของข้อมูลได้เช่นตัวอักษร จำนวนเต็ม จำนวนจริง วันเดือนปี เวลา เปอร์เซ็นต์ และอัตราค่าเงินของประเทศต่างๆ เป็นต้น ซอฟต์แวร์ตารางทำงานช่วยคำนวณรายการต่างๆ เช่น คำนวณภาษี รายรับรายจ่าย และประเมินผลการเรียนการสอนของนักเรียน เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น