ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์หนึ่งเครือข่ายจะมีการทำงานรวมกันเป็นกลุ่ม ที่เรียกว่า กลุ่มงาน (workgroup) แต่เมื่อเชื่อมโยงหลายๆ กลุ่มงานเข้าด้วยกัน ก็จะเป็นเครือข่ายขององค์กร และถ้าเชื่อมโยงระหว่างองค์กรผ่านเครือข่ายแวน ก็จะได้เครือข่ายขนาดใหญ่ขึ้น
การประยุกต์ใช้งานเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นไปอย่างกว้างขวาง และสามารถใช้ประโยชน์ได้มากมาย ทั้งนี้เพราะระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำให้เกิดการเชื่อมโยงอุปกรณ์ต่างๆ เข้าด้วยกัน และสื่อสารข้อมูลระหว่างกันได้ ประโยชน์ของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีดังนี้
วันพฤหัสบดีที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
วันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
เครือข่ายคอมพิวเตอร์
ความสำคัญของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
- ธรรมชาติมนุษย์ต้องอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม มีการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน ร่วมกันทำงานสร้างสรรสังคมเพื่อให้ ความเป็นอยู่โดยรวมดีขึ้น จากการดำเนินชีวิตร่วมกันทั้งในด้านครอบครัว การทำงานตลอดจนสังคมและการเมือง ทำให้ต้องมีการพบปะแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน เมื่อมนุษย์มีความจำเป็นที่จะติดต่อสื่อสารระหว่างกัน พัฒนาการ ทางด้านคอมพิวเตอร์จึงต้องตอบสนองเพื่อให้ใช้งานได้ตามความต้องการ แรกเริ่มมีการพัฒนาคอมพิวเตอร์แบบรวมศูนย์ เช่น มินิคอมพิวเตอร์ หรือ เมนเฟรม โดยให้ผู้ใช้งานใช้พร้อมกันได้หลายคน แต่ละคนเปรียบเสมือน เป็นสถานีปลายทาง ที่เรียกใช้ทรัพยากร การคำนวณจากศูนย์คอมพิวเตอร์และให้คอมพิวเตอร์ตอบสนองต่อ การทำงานนั้น ต่อมามีการพัฒนาไมโครคอมพิวเตอร์ที่ทำให้สะดวกต่อการใช้งานส่วนบุคคล
อุปกรณ์ที่สำคัญในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
รูปแบบของการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Topology)
รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่าย |
รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่ายหรือมักเรียกสั้น ๆ ว่า โทโพโลยี เป็นลักษณะทั่วไปที่กล่าวถึงการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทางกายภาพว่ามีรูปแบบหน้าตาอย่างไร เพื่อให้สามารถสื่อสารร่วมกันได้และด้วยเทคโนโลยีเครือข่ายท้องถิ่นจะมีรูปแบบของโทโพโลยีหลายแบบด้วยกัน ดังนั้น จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจแต่ละโทโพโลยีว่ามีความคล้ายคลึง หรือแตกต่างกันอย่างไร รวมถึงข้อดีและข้อเสียของแต่ละโทโพโลยี และโดยปกติโทโพโลยีที่นิยมใช้กันบนเครือข่ายท้องถิ่นจะมีอยู่ 3 ชนิดด้วยกัน คือ
- โทโพโลยีแบบบัส
- โทโพโลยีแบบดาว
- โทโพโลยีแบบวงแหวน
- โทโพโลยีแบบผสมผสาน
วิธีการถ่ายโอนข้อมูล
การสื่อสารข้อมูล
สื่อกลางที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูล
องค์ประกอบที่สำคัญที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลอันหนึ่งที่ขาดไม่ได้ คือสายสื่อกลาง ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ สื่อกลางที่กำหนดเส้นทางได้ เช่น สายโคแอกเซียล (Coaxial) สายเกลียวคู่ (Twisted-pair) สายไฟเบอร์ออฟติก (Fiber Optic) และสื่อกลางที่กำหนดเส้นทางไม่ได้ เช่น คลื่นวิทยุ คลื่นดาวเทียม คลื่นไมโครเวฟ เป็นต้น
การเลือกสื่อกลางที่จะนำมาใช้ในการเชื่อมต่อระบบสื่อสารข้อมูลนั้น จำเป็นต้องพิจารณากันหลายประการ เช่น ความเร็วในการส่งข้อมูล ราคาของอุปกรณ์ที่ใช้ สถานที่ใช้ การบริการ การควบคุม ตลอดจนเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้ ซึ่งลื่อกลางแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติแตกต่างกันไป
การสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์
หลักการเบื้องต้นของการสื่อสารข้อมูล
ในการเรียนการทำงาน และการดำเนินชีวิตประจำวันของคนเรา ต้องมีการพูดคุย บอกความต้องการ ความรู้สึก และแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระระหว่างกัน เพื่อให้เกิดประสบการณ์และความรอบรู้
ดังนั้น หลักการเบื้องต้นของการสื่อสารข้อมูลจึงเป็นการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพระหว่างผู้ส่ง ข้อมูลข่าวสาร สื่อกลางหรือช่องทางการสื่อสารและผู้รับ เพื่อให้ผู้รับ รับรู้ข้อมูลข่าวสารถูกต้องและเกิดความเข้าใจตรงกันกับผู้ส่งนั้นเอง
การจัดหาซอฟต์แวร์เพื่อมาใช้งาน
โดยปกติแล้วเราสามารถหาซอฟต์แวร์มาใช้งานได้หลาย ๆ วิธี ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปแบบของการสั่งซื้อโดยตรงกับบริษัทผู้ผลิตหรือใช้ตัวอย่างทดลองจากการดาวน์โหลดบนอินเทอร์เน็ตได้ จึงพอสรุปวิธีการเลือกซอฟต์แวร์มาใช้งานได้ดังนี้
อ่านเพิ่มเติม >
โปรแกรมประยุกต์ทั่วไป 2
๔) ซอฟต์แวร์นำเสนอ (presentation software) เป็นอีกซอฟต์แวร์หนึ่งที่มีการใช้งานอย่างแพร่หลาย ซอฟต์แวร์นำเสนอช่วยให้การนำเสนอทำได้ง่ายสะดวกรวดเร็ว และทำให้การนำเสนอมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น สามารถแสดงข้อความในลักษณะที่สื่อความได้ง่าย ด้วยเครื่องมือสำเร็จที่ซอฟต์แวร์มีให้ใช้งาน ซอฟต์แวร์นำเสนอสามารถสร้างสไลด์โดยประกอบด้วย ตัวอักษร รูปภาพ กราฟ แผนภูมิ ตาราง ภาพเคลื่อนไหว เสียงและอื่นๆ ซอฟต์แวร์นำเสนอ ทั้งซอฟต์แวร์ชุดปลาดาวหรือซอฟต์แวร์ของไมโครซอฟต์เพาเวอร์พอยต์นั้นมีรูปแบบการใช้งานที่ง่าย ซอฟต์แวร์นำเสนอของชุดปลาดาวสามารถเปิดแฟ้มที่สร้างจากไมโครซอฟต์เพาเวอร์พอยต์มาแก้ไขได้ ซอฟต์แวร์นำเสนอสามารถตกแต่งและนำเสนอสไลด์ด้วยรูปแบบต่างๆ เช่น การใส่และตกแต่งพื้นหลังของสไลด์ วาดภาพโดยใช้เครื่องมือสำเร็จที่ซอฟต์แวร์มีให้ ตกแต่งตัวอักษรและเลือกรูปแบบการแสดงตัวอักษรและสไลด์ ตัวอย่างของซอฟต์แวร์นำเสนอ เช่น ไมโครซอฟต์เพาเวอร์พอยต์ โลตัสฟรีแลนซ์ และ ซอฟต์แวร์นำเสนอของชุดซอฟต์แวร์ปลาดาว เป็นต้น
หน้าต่างการใช้งานของซอฟต์แวร์นำเสนอของซอฟต์แวร์ชุดปลาดาว
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (application software)
หมายถึง โปรแกรมที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานเฉพาะอย่างตามต้องการของผู้ใช้ ซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่ได้รับความนิยม เช่น โปรแกรมประมวลผลคำ โปรแกรมกาคำนวณ โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล โปรแกรมค้นหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต เป็นต้น ซึ่งซอฟต์แวร์ประยุกต์สามารถแบ่งเป็น ๒ ประเภท ได้แก่ ซอตฟ์แวร์ประยุตก์เฉพาะงาน และซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไป
โปรแกรมอรรถประโยชน์ (utility program)
ซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่เฉพาะอย่าง เพื่อจัดการงานพื้นฐานและบริการต่าง ๆ เช่น การจัดเรียงข้อมูล (sort) การรวมแฟ้มข้อมูลที่จัดเรียงลำดับแล้วเข้าด้วยกัน (merge) หรือย้ายข้อมูลจากอุปกรณ์รับหนึ่งไปยังอุปกรณ์หนึ่ง รวมทั้งสามารถจัดการกับฮาร์ดแวร์โดยตรง โปรแกรมอรรถประโยชน์ส่วนใหญ่จะถูกรวมอยู่ในระบบปฏิบัติการอยู่แล้ว สามารถแบ่งออกได้ ๒ ประเภท ดังต่อไปนี้
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์
การใช้งานระบบสารสนเทศด้วยคอมพิวเตอร์ จำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์ควบคุมการทำงาน เช่น การซื้อของโดยใช้บัตรเครดิต ผู้ขายจะตรวจสอบบัตรเครดิตโดยใช้เครื่องอ่านบัตร แล้วส่งข้อมูลของบัตรเครดิตไปยังศูนย์ข้อมูลของบริษัทผู้ออกบัตร การตรวจสอบจะกระทำกับฐานข้อมูลกลาง โดยมีกลไกหรือเงื่อนไขของการตรวจสอบ จากนั้นจึงให้คำตอบว่าจะยอมรับหรือปฏิเสธบัตรเครดิตใบนั้น การดำเนินการเหล่านี้เป็นไปโดยอัตโนมัติตามคำสั่งซอฟต์แวร์
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)